วันพุธที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2553

ประโยชน์ ของเกลือสมุทรและเกลือสินเธาว์

ประโยชน์ ของเกลือสมุทรและเกลือสินเธาว์


1. เกลือสินเธาว์เป็นเกลือที่เหมาะที่จะใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เพราะมีความชื้น Ca 2+ และ Mg 2+ ต่ำ
2. เกลือสมุทร เหมาะสำหรับใช้บริโภคเพราะมีไอโอดีนอยู่ ร่างกายต้องการไอโอดีนประมาณ75 มิลลิกรัมต่อปี เมื่อได้รับไอโอดีนร่างกายจะนำไปเก็บไว้ในต่อมไทรอยด์ ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมสมอง ประสาท และเนื้อเยื่อต่างๆ ถ้าขาดจะเป็นโรคคอพอก และถ้าขาดตั้งแต่ยังเด็ก ร่างกายจะแคระแกร็น สติปัญญาต่ำ หูหนวก เป็นใบ้ ตาเหล่และอัมพาต
การผลิตเกลือกับปัญหาสิ่งแวดล้อม
1. ปัญหาการกระจายของดินเค็ม ทำให้พื้นดินไม่เหมาะกับการเพาะปลูก
2. ปัญหาการกระจายของเกลือลงสู่แหล่งน้ำ มีผลต่อการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำ
3. ปัญหาการยุบของพื้นดินบริเวณที่ผลิตเกลือบาดาล

-เกลือสมุทรเหมาะที่จะใช้บริโภค เพราะมีไอโอดีนสูง กล่าวคือ เกลือสมุทร 10 mg มีไอโอดีนประมาณ 38.5 mg และเกลือสินเธาว์มีประมาณ 10 mg


-เกลือสินเธาว์เป็นเกลือที่เหมาะใช้ในการอุตสาหกรรม เพราะมีความชื้น และแมกนีเซียม แคลเซียม ค่อนข้างต่ำ

การผลิตเกลือสินเธาว์

การผลิตโซเดียมคลอไรด์(NaCl)
จาก Eduzones Elibrary, สารานุกรมฟรี
การผลิตเกลือสินเธาว์
          เกลือสินเธาว์ผลิตได้จากแร่ เกลือ ( Rock salt ) พบอยู่ตามพื้นดินแถบภาคอีสาน เช่น จังหวัดชัยภูมิ มหาสารคราม ยโสธร อุบลราชธานี และอุดรธานี
        การผลิตเกลือสินเธาว์จากเกลือหินโดยทั่วไปใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือ ใช้การละลาย การกรอง การระเหย และการตกผลึก หรือการละลายและการตกผลึก หรือการละลายและการตกผลึก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพของเกลือที่เกิดขึ้นในแหล่งนั้นๆ
1. เกลือจากผิวดิน ทำได้โดยขุดคราบเกลือจากผิวดินมาละลายน้ำกรองเศษดินและกากตะกอนออก นำน้ำ เกลือไปเคี่ยวให้แห้งจะได้ผลึกเกลือ
2. เกลือจากน้ำเกลือบาดาล น้ำเกลือบาดาลจะอยู่ลึกจากพื้นดินหลายระดับ อาจจะเป็น5-10
เมตรหรือ 30 เมตรก็ได้ การผลิตทำได้โดยการขุดเจาะลงไปถึงระดับน้ำเกลือบาดาลและสูบน้ำเกลือขึ้นมานำไปต้มหรือตากจะได้เกลือตกผลึกออกมา
3. เกลือจากเกลือหิน มีลำดับขั้นตอนการผลิตดังนี้
3.1. อัดน้ำจืดลงไปละลายเกลือในชั้นหินเกลือ
3.2. นำสารละลายน้ำเกลือมาเติม NaOH และ Na 2CO 3 เพื่อกำจัด Mg 2+ และ Ca 2+ ดัง
สมการ
Mg 2+ + 2OH - Mg (OH) 2
Ca 2+ + CO 3 2- CaCO 3
กรองแยก Mg(OH) 2 และ CaCO 3 ออกนำสารละลายเกลือไปตกผลึกจะได้ NaCl เมื่อตกผลึกไปนานๆ NaCl ในสารละลายจะลดลงแต่ในสารละลายจะมี NaSO 4 และ Na 2CO 3 ละลายอยู่ เรียกสารละลายนี้ว่า น้ำขม
3.3. นำน้ำขมมากำจัดไอออนต่างๆออก โดยเติม CaCl 2 จะเกิด CaCO 3 และ CaCO 3
ดังสมการ
Ca 2+ + SO 4 2- CaSO 4
Ca 2+ + CO 3 2- CaCO 3
กรองแยกตะกอนออกนำสารละลายที่ได้ไปตกผลึก NaCl ได้อีก

-ปัจจุบันมีการทำนาเกลือบาดาลกันมากบนเนื้อที่ประมาณ 12,000 ไร่ ได้แก่ บริเวณจังหวัดมหาสารคาม นครราชสีมา ร้อยเอ็ด สกลนคร ชัยภูมิ และจังหวัดหนองคายเป็นต้น แหล่งที่มา www.geocities.com

การผลิตโซเดียมคลอไรด์(NaCl)

การผลิตโซเดียมคลอไรด์(NaCl)

จาก Eduzones Elibrary, สารานุกรมฟรี

การผลิตโซเดียมคลอไรด์ โซเดียมคลอไรด์ หรือเกลือแกงมีสูตรเป็น NaCl เป็นสารประกอบที่ประกอบด้วยธาตุ Na และ Cl ลักษณะเป็นผลึกสีขาว รสเค็ม รูปผลึกเป็นแบบทรงลูกบาศก์ จุดหลอมเหลว 801 องศาเซลเซียส ละลายน้ำได้ดี โดยมากใช้ ทะเล และจากดิน ประเทศที่ผลิตเกลือแกงได้มาก คือ ประเทศออสเตรีย ฝรั่งเศส เยอรมนี อินเดียและสหรัฐอเมริกา เกลือแกง แบ่งตามวิธีการผลิตมี 2 ประเภทคือ เกลือสมุทร และเกลือสินเธาว์

การผลิตเกลือสมุทร

          เกลือสมุทรทำกันมากในบริเวณใกล้ทะเล เช่น ที่จังหวัดสมุทรสาคร เพชรบุรี ฉะเชิงเทรา และชลบุรี สำหรับประเทศในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ โดยมากทำเกลือปีละ 2 ครั้ง คือ ฤดูใบไม้ผลิ และฤดูใบไม้ร่วง ในประเทศไทยมีอากาศแห้งแล้งติดต่อกันประมาณครึ่งปี ดังนั้น การทำนาเกลือจึงเริ่มทำตั้งแต่ เดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนพฤษภาคม หากปีใดฝนตกชุกในระยะดังกล่าวการทำนาเกลือจะไม่ได้ผลเท่าที่ควร
การผลิตเกลือสมุทรมี 2 ขั้นตอน คือ
1. ขั้นเตรียมพื้นที่นา
    จะต้องปรับพื้นดินให้เรียบและแน่นแบ่งที่นาเป็นแปลงๆแปลงละ ประมาณ 1 ไร่ ยกขอบให้สูงเหมือนคันนา และทำร่องระบาย   น้ำระหว่างแปลงพื้นที่นาเกลือแบ่งเป็น3 ตอน คือ นาตาก นาเชื้อ และนาปลงที่นาทั้ง3 ตอนควรมีพื้นที่ลดหลั่นกันลงมาเพื่อความสะดวกในการระบายน้ำ
2. ขั้นตอนทำนาเกลือ
     2.1 ก่อนถึงฤดูทำนาเกลือจะระบายน้ำเข้าไปเก็บไว้ในวังขังน้ำ เพื่อให้โคลนตมตกตะกอน
     2.2 เมื่อถึงฤดูทำนาเกลือ( พ.ย.– พ.ค. )จะระบายน้ำทะเลจากวังขังน้ำเข้าสู่นาตาก โดยให้
ระดับน้ำสูงกว่าพื้นที่นา 5 ซม.กระแสลมและแสงแดดจะทำให้น้ำระเหยไปจนได้ถึงพื้น1.08 จึงระบายน้ำเข้าสู่นาเชื้อ
ที่นาเชื้อ CaSO 4 จะตกผลึกออกมาเป็นอันดับแรกเป็นผลพลอยได้ น้ำในนาเชื้อจะระเหยต่อไปจนได้ความถ่วงจำเพาะ 1.20 จึงระบายน้ำเข้าสู่ นาปลง ที่นาปลง NaCl จะเริ่มตกผลึกและจะเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆขณะเดียวกันน้ำทะเลที่เหลือจะมีความเข้มข้นของ Mg 2+ Cl - และ SO 4 2- เพิ่มขึ้นจึงต้องระบายน้ำจากนาเชื้อเข้าไป เพื่อป้องกันไม่ให้ MgCl 2 และ MgSO 4 ตกผลึกปนกับ NaCl คุณภาพของเกลือโซเดียมคลอไรด์ คุณภาพของเกลือ NaCl ขึ้นอยู่กับมลทินที่เจือปนอยู่ เช่น เกลือแมกนีเซียม เป็นต้น ถ้าเกลือ NaCl มีเกลือแมกนีเซียมปนมาก เกลือจะชื้นง่าย ราคาตก
     ดังนั้น ถ้าต้องการเกลือที่มีคุณภาพดีควรเติมปูนขาว 0.4 – 0.5 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร ลงในน้ำเชื้อ เพื่อทำให้น้ำทะเลมีสมบัติเป็นเบส ( pH 7.4 - 7.5 ) Mg 2+ ไอออนจะตกตะกอนมาในรูปของ Mg (OH) 2 ทิ้งไว้จนน้ำทะเลใสแล้วจึงไขน้ำนี้เข้าสู่นาปลง NaCl จะตกผนึกออกมาเป็นส่วนใหญ่ ผนึกของเกลือ NaCl ที่ได้จึงค่อนข้างบริสุทธิ์มี คุณภาพดี